ป้ายกำกับ

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
       (http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า บนพื้นฐานของทฤษฎีConstructionism เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์งานที่มีความหมายกับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กมีความสนใจในเรื่อง การออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ สวนสนุก ฯลฯ และเด็กได้มีโอกาสในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น จะส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้และความก้าวหน้าทางสติปัญญาได้เป็นอย่างดีทฤษฎี constructionism นี้จึงเกี่ยวข้องกับการสร้าง 2 ประการ กล่าวคือ
     1) เมื่อเด็กสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างออกมา เท่ากับว่าเด็กได้สร้างความรู้ขึ้นมาภายในตนเองด้วย
     2) ความรู้ที่เด็กได้สร้างขึ้นภายในตนเองนี้จะช่วยให้เด็กนำไปสร้างความรู้ใหม่ หรือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่ความสลับซับซ้อนกันมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย
        (http://supanida-opal.blogspot.com) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  แนวคิดของทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด



     (http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

     สรุป    การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
     
     เอกสารอ้างอิง 
      URL : (http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html)  เข้าถึงเมื่อวันที่ 30กรกฎาคม พ.ศ. 2554 
     URL : (http://supanida-opal.blogspot.com)  เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 
    URL :  (http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm)เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น