ป้ายกำกับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดเรื่องการประมาณค่า

แบบฝึกหัด  เรื่องการประมาณค่า
1.จงเลือกจำนวนในวงเล็บซึ่งมีค่าใกล้เคียงที่สุดกับจำนวนที่กำหนดให้ แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่าง
1)   72              ประมาณค่า   …………      (70;80)
2)   450            ประมาณค่า   …………      (400;500 )
3)   52,965       ประมาณค่า  …………       ( 50,000;60,000  )
4)   7.49           ประมาณค่า  …………        (7;8 )
5)   0.86327     ประมาณค่า  …………        ( 0.863;0.864 )
6)   12.593       ประมาณค่า  …………         ( 12;13 )

2.จงปัดเศษจำนวนต่อไปนี้ ให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง
    1) 0.1945                             2) 0.5455
    3) 0.0095                            4) 0.0049
3.ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวอังคารประมาณ 227,942,840  กิโลเมตร   จงหาจำนวนที่ใกล้เคียงที่สุดเป็น
1) จำนวนเต็มพัน
2) จำนวนเต็มหมื่น
3) จำนวนเต็มแสน
4) จำนวนเต็มล้าน
4. จงใช้การประมาณค่าโดยการปัดเศษหาผลลัพธ์ต่อไปนี้
          1) 1,438 + 2,368 + 5,442
          2) (51 X 67) + (21 X 7)
          3) 6.72 - 5.9 + 3.14    
          4)  3.456 + 2.888 + 3.939 + 3.142        

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

       เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการช่วยให้การแก้ปัญหาทางด้านการศึกษาสำเร็จลุ่ล่วง ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหาร การจัดเรียนการสอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน ต้องค่อย ๆ ทำ ทำไปเรื่อย ๆ

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี

เทคโนโลยี

           (http://jankhuk.exteen.com )ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)

     (
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-1.htmได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์

     (
http://jankhuk.exteen.com/20090619/entry) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

สรุป
     การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร จึงทำให้เกิดเป็นเทคโนโลยีนั่นเอง

อ้างอิง
URL:  (http://jankhuk.exteen.com ) เข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
URL:  (
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-1.htmเข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 
URL:   (http://jankhuk.exteen.com/20090619/entry)  เข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)
   
     ( 
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
(  http://sites.google.com/site/bookeclair/hk )ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การประมวลผลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก(Recognition) และความสนใจ (Atention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า บุคคลจะเลือกรับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งดำรงคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด ในการทำงานที่จะเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำไว้ใช้งานได้
            (http://dontong52.blogspot.com ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง
           
     สรุป     การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น เปรียบเสมือนการรับข้อมูล การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวล เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว เช่น การท่องจำ เปรียบเสมือนการเข้ารหัส และการจัดการควบคุมกระบวนการคิด ด้วยวิธีต่างๆ ช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ ก็เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์


     เอกสารอ้างอิง
          URL : ( 
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm )  เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : (  http://sites.google.com/site/bookeclair/hk )  เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554    
     URL : (http://dontong52.blogspot.com )  เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554



รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
                   (http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
     (http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
     1.รูปแบบหลัก
     2. รูปแบบผู้เรียน
     3. รูปแบบการปรับตัว
  (http://suvaluck16.multiply.com/journal/item/11ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนรู้ที่คุณครูออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา หรือสื่อการเรียนรู้ทั่วๆ ไป เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถจำแนกได้ ดังนี้
   1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม    
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ 
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย คือ
      4.1 เป็นสื่อประสมที่นำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาใช้ประกอบการบรรยายและมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือ การใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน มีลักษณะเป็น "สื่อหลายแบบ" ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน การใช้สื่อประสมลักษณะนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
      4.2 เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ หรือ การผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร และเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการตอบโต้กับสื่อโดยตรง เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในสื่อประสมนี้ได้ 2 ลักษณะ คือ
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ โดยการควบคุมอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ในการทำงาน ได้แก่ การเสนอในรูปแบบของแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ลักษณะนี้คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดิทัศน์  และเครื่องเล่นซีดี-รอมให้เสนอภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวตามเนื้อหาบทเรียน
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อประสม โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ต่างๆ เช่น Toolbook Authorwareซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปจะช่วยในการผลิตแฟ้ม บทเรียน หรือการเสนองานในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยแต่ละแฟ้มจะมีเนื้อหาในลักษณะตัวอักษรภาพกราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมอยู่ในแฟ้มเดียวกัน ผู้ใช้เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียนหรือเสนองานตามโปรแกรมที่ได้จัดทำไว้ก็จะได้เรียนรู้เนื้อหาอย่างครบถ้วน 
    
สรุป
    รูปแบบของสื่อหลายมิติมีดังนี้
1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม    
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ 
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย
เอกสารอ้างอิง
  URL.   (http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712) เข้าถึง  30 กรกฎาคม  2554
  URL.       (http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html)   เข้าถึง  30 กรกฎาคม 2554
 URL.  (http://suvaluck16.multiply.com/journal/item/11   เข้าถึง  30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
   


   

สื่อการสอน

สื่อการสอน
     (http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281) สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา
     (http://www.gotoknow.org/blog/paitoon/231415) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น
     - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ
     - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ
     - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน
     - คำพูดท่าทาง
     - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร
     - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ
       ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน แบ่งตามคุณลักษณะได้
4 ประเภท คือ

            1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
            2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
            3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
            4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)

สรุป
     สื่อการสอนก็คือ เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์

อ้างอิง
   URL: (
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281)  เข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
  URL:  (
http://www.gotoknow.org/blog/paitoon/231415)  เข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
   URL: (http://kichu1987-11.blogspot.com ) เข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
           (http://th.wikipedia.org/wiki ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี
            (http://www.chakkham.ac.th)  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
            การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์ การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code)
            การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวณ การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ ส่วนใหญ่จะดำเนินการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จากส่วนสำคัญที่เรียกว่า ชิพในหน่วยซีพียู
            การแสดงผลลัพธ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์  ซึ่งสามารถเป็นตัวหนังสือ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์หรือเสียง
            การทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา และการนำไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์หรือ
CD-ROM
            การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งอาจส่งกระจายไปยังปลายทางครั้งละมากๆ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คลื่นวิทยุ ดาวเทียม ฯลฯ
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

            โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
            1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
            2. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
            3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
            4. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา

            เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
            1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
            2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
            3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่าง
            (http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

สรุป     เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
           

เอกสารอ้างอิง
URL:   (http://th.wikipedia.org/wiki )   เข้าถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 URL:  (http://www.chakkham.ac.th)   เข้าถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 
URL:  (http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm )  เข้าถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 
           

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา
        ( http://www.northeducation.ac.th) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง  การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต 
    
(http://ceit.sut.ac.th ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet)

            (http://www.northeducation.ac.th )ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง  การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต
           
            สรุป  นวัตกรรมทางการศึกษา  หมายถึง แนวคิด  วิธีการ  สื่อ  สิ่งประดิษฐ์ทางการศึกษา  การนำเอาสิ่งใหม่ๆ อาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา   ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

เอกสารอ้างอิง
 URL: ( http://www.northeducation.ac.th) เข้าถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
 URL: (http://ceit.sut.ac.th )  เข้าถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
 URL: (http://www.northeducation.ac.th )เข้าถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรม คืออะไร

นวัตกรรม คืออะไร

     (http://www.gotoknow.org/blog/ict-ict/279590ได้กล่าวว่า ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

 (http://www.thailandwealth.com/index.php?option=com_content&view=article&id=209:2008-11-24-04-23-54&catid=141:innovation&Itemid=55) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า นวัตกรรม คือ การกระทำต่างๆ ที่นำเอาทรัพยากรต่างๆ มาทำให้เกิดขีดความสามารถใหม่ๆ ในทางที่ดีขึ้น "นวต" มาจากคำว่าใหม่ (new หรือ nuvo) เมื่อพ่วงคำว่า กรรมที่แปลว่า การกระทำลงไป จะกลายเป็น การกระทำใหม่ๆ หรือผลงานใหม่ๆ ซึ่งถ้าแปล นวัตกรรม = การกระทำใหม่ๆ ดูออกจะแคบไปสักหน่อย เพราะนวัตกรรมมีความหมายที่กว้าง และยิ่งใหญ่กว่าแค่ทำอะไรใหม่ๆ

  (http://ceit.sut.ac.th )ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

สรุป  การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง   การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร  ตลอดจนหน่วยงาน  หรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป   แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
อ้างอิง
 URL:      (http://www.gotoknow.org/blog/ict-ict/279590เข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 URL:        (http://www.thailandwealth.com/index.php?option=com_content&view=article&id=209:2008-11-24-04-23-54&catid=141:innovation&Itemid=55)   (เข้าถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL:
  (http://ceit.sut.ac.th )  เข้าถึง  30 กรกฎาคม 2554